วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

นวัตกรรมที่เกี่ยวกับโรคหอบหืด

ชื่อนวัตกรรมการพ่นยาเป็นเรื่อง ชิว ชิว
ผู้ประดิษฐ์
นางพัทธยา เฮทสุข พยาบาลวิชาชีพ
งานอุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขุขันธ์
บทนํา
โรคหอบหืด คนเป็นกันมาก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กชายเป็น โรคหอบหืด มากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนอง และไวต่อสิ่งกระตุ้นสารก่อภูมิแพ้ สารระคายเคืองและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเร็วกว่าคนปกติ ผู้ป่วยจึงมีอาการไอ หายใจลำบาก และหายใจมีเสียงวี้ด ที่เรียกว่า จับหืด บางครั้งหลอดลมจะหดมากทําให้ผู้ป่วยขาดอากาศหายใจจนอาจเสียชีวิตได้ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขทําให้มีผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินโรงพยาบาลขุขันธ์ให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทางระบบทางเดินหายใจผู้ป่วยทั้งเด็ก และผู้ใหญ่จํานวนมากมารับบริการทั้งในและนอกเวลาราชการ ซึ่งมีทั้งหลอดลมอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ หอบหืด ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการพ่นยาจากการให้บริการที่ผ่านมา ปี 2553 ยอดผู้ป่วยพ่นยา 1224 ปี 2554 ยอด 1326 ปี 2555 ยอด 1443 ซึ่งพบว่าจํานวนผู้ป่วยมารับการพ่นยาเพิ่มขึ้นตามลําดับ การให้บริการ พ่นยาให้กับผู้ป่วยในแต่ละรายต้องใช้เวลาการคํานวณยาพ่นก่อนการเตรียมยานานทําให้ผู้ป่วยเกิดความทรมานอาจขาดอากาศหายใจได้ ผู้วิจัยจึงต้องการสร้างนวัตกรรม การพ่นยาเป็นเรื่อง ชิว ชิว ขึ้นเพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการบริการพ่นยาของผู้ป่วย
ซึ่งเจ้าหน้าที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยที่ต้องพ่นยานั้นซากเต็มในการคํานวณยานั้นต้อง อาศัยเครื่องคิดเลขในการคํานวณยาพ่น การทดเลขในกระดาษ การใช้โทรศัพท์คิดเลข การคํานวณในใจและ การถามเพื่อนร่วมงานในการคํานวณยาพ่นซึ่งต้องใช้เวลาในการคํานวณจากเดิม 2 นาที หลังการทดลองโดยประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึง 30 มิถุนายน 2555 จํานวน 100 คน เป็นข้อมูลจากแบบบันทึกระยะเวลาการให้บริการในผู้ป่วยแต่ละราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการทุกรายได้รับปริมาณยาที่ถูกต้อง และมีระยะเวลาได้รับบริการในการพ่นยาจากเดิมใช้เวลาในการคํานวณยาก่อนการเตรียมยาเฉลี่ย 2 นาที หลังจากการประยุกต์ใช้นวัตกรรม การพ่นยาเป็นเรื่อง ชิว ชิว พบระยะเวลาในการคํานวณยาลดลง เหลือ 10 วินาที ช่วยให้การพ่นยาง่ายขึ้นและสะดวกสบายในการพ่นยาให้กับผู้ป่วย ผู้ป่วยได้รับปริมาณยาที่ถูกต้อง เกิดความปลอดภัย และลดความทุกข์ทรมานจากการขาดยากาศหายใจ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อลดระยะเวลาในการคํานวณยาพ่น
2. เพื่อให้การพ่นยาง่ายขึ้น สะดวกสบายในการพ่นยาให้กับผู้ป่วย
3.เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการพ่นยาให้กับผู้ป่วย
4.เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณยาที่ถูกต้อง เกิดความปลอดภัย
อุปกรณ์
1.กระดาษสีต่างๆ ขนาด A4หรือกระดาษโฟโต้ ขนาด A4
2.แผ่นเคลือบ ขนาด A4
3.ที่เจาะกระดาษ
4.ตาไก่
วิธีการใช้งาน
นํา Cycleพ่นยา มาหมุน เทียบกับน้ำหนักตัวผู้ป่วยก็จะได้ปริมาณยาพื้นที่ใช้ในการผสมยาในการพ่นยาให้กับ ผู้ป่วย
ด้านหน้า
ด้านหลัง 

1.ประกอบกระเปาะพันยาให้ถูกต้อง
2. ใส่ยาหรือยาผสมน้ำเกลือลงในกระเปาะพ่นยาตามแพทย์สั่ง
3.ต่อกระเปาะพ่นยากับหน้ากากหรือที่สูดยาทางปาก
4.ต่อสายพ่นยากับเครื่องพ่นยาหรือถังออกซิเจน
5.ในกรณีที่ใช้ออกซิเจนให้เปิดในอัตราการไหลของก๊าซ 6-8 ลิตรต่อนาที
6.สังเกตความหนาแน่นของละอองยาว่ามีพอดีหรือไม่
7.นําไปครอบบริเวณหน้าถ้าต่อกระเปาะพ่นยากับหน้ากากหรือให้เด็กอมทางปากถ้าต่อกระเปาพ่นยายา กับท่อสูตยาทางปาก หายใจปกติในขณะพ่นยาในกรณีใช้ท่อสูตยาทางปากจะต้องหายใจเข้า -ออกทาง ปากซึ่งสังเกตได้จากขณะพ่นยาละอองยาจะพุ่งเข้าปากในช่วงหายใจเข้าและพุ่งออกจากปากในขณะหายใจออก
8.ขณะพ่นยาให้เคาะกระเปาะพ่นยาเป็นระยะๆเพื่อไม่ให้ยาติตด้านในกระเปาะ
9.พ่นยาต่อจนกระทั่งไม่เห็นละอองยาคือพ่นยาจนยาหมเกระเปาะ
10.ติดตามผลการรักษา ได้แก่ หายใจโล่งขึ้น ไม่มีเสียงวี้ดจากปอด สังเกตผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น เช่น ใจสั่น
สรุปผล
จากการทดลองใช้นวัตกรรมการพ่นยาเป็นเรื่อง ชิว ชิว สามารถช่วยให้การพ่นยาง่ายขึ้น ช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความมั่นใจในการพ่นยาและผู้ป่วยได้รับปริมาณยาที่ถูกต้อง ลดระยะเวลาในการคํานวณยาก่อนการเตรียมยาพ่น
การนํานวัตกรรมไปใช้ในการปฏิบัติงาน
1.ทดลองใช้ที่งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินโรงพยาบาลขุขันธ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลขนุน , โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลอาวอย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหนองคล้า(ดําเนินการแล้ว)
2.ขยายผลโดยการนําไปใช้กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลในสังกัด สํานักงานสาธารณสุขอําเภอขุขันธ์ จํานวน 27 แห่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น