วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

สมุนไพรรักษาโรคหอบหืด

 โรคหอบหืด เป็นโรคที่มีภาวะการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ซึ่งมีผลทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีดหรือหอยเหนื่อย เกิดขึ้นทันทีเมื่อได้รับสารก่อโรคหรือสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ เช่น ฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ หรือแม้กระทั่งอากาศที่เย็น ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นอาจหายได้เอง หรือหายโดยการใช้ยาขยายหลอดลม
         
ผู้ป่วยโรคหอบหืดบางรายอาจมีอาการเกิดขึ้นเพียงปีละ 1-2 ครั้ง แต่ในบางรายอาจมีอาการเรื้อรังตลอดปี และมีความจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยาที่ใช้ในโรคนี้ก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหลายประการ เช่น การใช้ยาพ่นประเภทสเตียรอยด์อย่างไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้มีการเจริญเติบโตของเชื่อราในช่องปากได้ หรือการรับประทานสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานานก็มีผลต่อการทำงานของไต รวมทั้งยับยั้งการเจริญเติบโตในผู้ป่วยเด็กได้
          
การใช้ยาขยายหลอดลมบ่อย ๆ ก็มีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วได้ เป็นต้น ดังนั้น การปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง และใช้ยาสมุนไพรที่มีอยู่รอบ ๆ ตัว ก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคนี้
         
ผู้ป่วยโรคหอบหืด ควรหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ตนเองแพ้ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้ โดยตัวผู้ป่วยหรือญาติอาจจะสังเกต หรือทำการทดสอบทางผิวหนังดูว่าแพ้อะไร ในระหว่างมีอาการควรใช้ยาที่ถูกต้องโดยเฉพาะยาพ่น ควรหลีกเลี่ยงจากอากาศเย็น อาหารเย็น รวมทั้งน้ำเย็น เพราะความเย็นจะทำให้เสมหะจับตัวกันได้ง่าย ซึ่งเสมหะจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการจับหอบได้
          
นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายได้เช่นกัน
         
สำหรับสมุนไพรที่มีการบันทึกในตำรายาโบราณว่าช่วยรักษาหอบหืดได้ผล เช่น
ปีบ

          
หรือที่ทางเหนือเรียกว่า กาซะลอง เป็นพืชตระกูลเดียวกับแค และกินได้เช่นเดียวกับดอกแค ในทางยา ดอกปีบได้ถูกนำมาใช้แก้หอบหืด โดยใช้ดอกแห้งมวนด้วยใบบัวหลวงหรือใบตองนวลเป็นบุหรี่สูบแก้หอบ
         
มีการวิจัยพบว่าในดอกปีบมีสารฮีสปีดูลิน (Hispidulin) ซึ่งระเหยได้ มีฤทธิ์ขยายหลอดลมได้ดีกว่า อะมิโนฟิลลีน (aminophylline) ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันที่ช่วยรักษาโรคหอบหืด และไม่มีความเป็นพิษแต่อย่างใด
          
ทางภาคเหนือและอีสานใช้รากปีบต้มกินแก้ไอ และยังเชื่อว่ารากปีบมีสรรพคุณบำรุงปอด นอกจากนี้แล้ว ดอกปีบยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในยาแก้ริดสีดวงจมูกอีกด้วย


หนุมานประสานกาย

         
หรือสังกรณี มีสรรพคุณหลักในการแก้แพ้อากาศ แก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ ขยายหลอดลม หวัด เจ็บคอ ไอเรื้อรัง เป็นสมุนไพรที่น่าจับตามอง เพราะสามารถนำมาพัฒนาเป็นยารักษาโรคในระบบทางเดินหายใจระยะยาวได้ ซึ่งนอกจากประเทศไทยแล้ว ญี่ปุ่นก็มีการใช้ในรูปแบบชาชงเพื่อบรรเทาอาการไอ แก้หลอดลมอักเสบและหอบหืด
          
การใช้ใบหนุมานประสานกายให้ใช้ใบสดล้างให้สะอาดเคี้ยวครั้งละ 2 ใบ กลืนน้ำจนกว่ากากยาจะจืดจึงคายทิ้ง หรือกลืนลงไปเลยก็ได้ เคี้ยววันละ 2 ครั้งก่อนอาหารเช้า และเย็น การใช้ใบแห้งให้ใช้ 1-3 ใบชงน้ำดื่มแทนชา หรือถ้าต้มใช้ประมาณ 7-8 ใบต้มกับน้ำ 4 แก้ว ปล่อยให้เดือดเบา ๆ จนน้ำงวดเหลือครึ่งหนึ่ง แบ่งกินวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น
         
หากต้องการดื่มทั้งวัน ใช้ใบเพสลาดสดหรือแห้ง หรือรวมกันทั้ง 2 อย่างราว 7 ใบ ต้มกับน้ำ 7 แก้ว เพียง 10 นาที ใช้ดื่มต่างน้ำ
          
ในบางคนอาจเกิดอาการแพ้ มีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก อึดอัด หายใจไม่สะดวก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ต้องหยุดใช้ยาทันที ฤทธิ์ดังกล่าวเกิดจากการใช้ใบสดมากกว่าใบแห้ง คนที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตต่ำหรือสตรีมีครรภ์ไม่ควรกิน

นวัตกรรมที่เกี่ยวกับโรคหอบหืด

ชื่อนวัตกรรมการพ่นยาเป็นเรื่อง ชิว ชิว
ผู้ประดิษฐ์
นางพัทธยา เฮทสุข พยาบาลวิชาชีพ
งานอุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขุขันธ์
บทนํา
โรคหอบหืด คนเป็นกันมาก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กชายเป็น โรคหอบหืด มากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนอง และไวต่อสิ่งกระตุ้นสารก่อภูมิแพ้ สารระคายเคืองและสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเร็วกว่าคนปกติ ผู้ป่วยจึงมีอาการไอ หายใจลำบาก และหายใจมีเสียงวี้ด ที่เรียกว่า จับหืด บางครั้งหลอดลมจะหดมากทําให้ผู้ป่วยขาดอากาศหายใจจนอาจเสียชีวิตได้ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขทําให้มีผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินโรงพยาบาลขุขันธ์ให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทางระบบทางเดินหายใจผู้ป่วยทั้งเด็ก และผู้ใหญ่จํานวนมากมารับบริการทั้งในและนอกเวลาราชการ ซึ่งมีทั้งหลอดลมอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ หอบหืด ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการพ่นยาจากการให้บริการที่ผ่านมา ปี 2553 ยอดผู้ป่วยพ่นยา 1224 ปี 2554 ยอด 1326 ปี 2555 ยอด 1443 ซึ่งพบว่าจํานวนผู้ป่วยมารับการพ่นยาเพิ่มขึ้นตามลําดับ การให้บริการ พ่นยาให้กับผู้ป่วยในแต่ละรายต้องใช้เวลาการคํานวณยาพ่นก่อนการเตรียมยานานทําให้ผู้ป่วยเกิดความทรมานอาจขาดอากาศหายใจได้ ผู้วิจัยจึงต้องการสร้างนวัตกรรม การพ่นยาเป็นเรื่อง ชิว ชิว ขึ้นเพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาในการบริการพ่นยาของผู้ป่วย
ซึ่งเจ้าหน้าที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยที่ต้องพ่นยานั้นซากเต็มในการคํานวณยานั้นต้อง อาศัยเครื่องคิดเลขในการคํานวณยาพ่น การทดเลขในกระดาษ การใช้โทรศัพท์คิดเลข การคํานวณในใจและ การถามเพื่อนร่วมงานในการคํานวณยาพ่นซึ่งต้องใช้เวลาในการคํานวณจากเดิม 2 นาที หลังการทดลองโดยประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึง 30 มิถุนายน 2555 จํานวน 100 คน เป็นข้อมูลจากแบบบันทึกระยะเวลาการให้บริการในผู้ป่วยแต่ละราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการทุกรายได้รับปริมาณยาที่ถูกต้อง และมีระยะเวลาได้รับบริการในการพ่นยาจากเดิมใช้เวลาในการคํานวณยาก่อนการเตรียมยาเฉลี่ย 2 นาที หลังจากการประยุกต์ใช้นวัตกรรม การพ่นยาเป็นเรื่อง ชิว ชิว พบระยะเวลาในการคํานวณยาลดลง เหลือ 10 วินาที ช่วยให้การพ่นยาง่ายขึ้นและสะดวกสบายในการพ่นยาให้กับผู้ป่วย ผู้ป่วยได้รับปริมาณยาที่ถูกต้อง เกิดความปลอดภัย และลดความทุกข์ทรมานจากการขาดยากาศหายใจ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อลดระยะเวลาในการคํานวณยาพ่น
2. เพื่อให้การพ่นยาง่ายขึ้น สะดวกสบายในการพ่นยาให้กับผู้ป่วย
3.เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการพ่นยาให้กับผู้ป่วย
4.เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณยาที่ถูกต้อง เกิดความปลอดภัย
อุปกรณ์
1.กระดาษสีต่างๆ ขนาด A4หรือกระดาษโฟโต้ ขนาด A4
2.แผ่นเคลือบ ขนาด A4
3.ที่เจาะกระดาษ
4.ตาไก่
วิธีการใช้งาน
นํา Cycleพ่นยา มาหมุน เทียบกับน้ำหนักตัวผู้ป่วยก็จะได้ปริมาณยาพื้นที่ใช้ในการผสมยาในการพ่นยาให้กับ ผู้ป่วย
ด้านหน้า
ด้านหลัง 

1.ประกอบกระเปาะพันยาให้ถูกต้อง
2. ใส่ยาหรือยาผสมน้ำเกลือลงในกระเปาะพ่นยาตามแพทย์สั่ง
3.ต่อกระเปาะพ่นยากับหน้ากากหรือที่สูดยาทางปาก
4.ต่อสายพ่นยากับเครื่องพ่นยาหรือถังออกซิเจน
5.ในกรณีที่ใช้ออกซิเจนให้เปิดในอัตราการไหลของก๊าซ 6-8 ลิตรต่อนาที
6.สังเกตความหนาแน่นของละอองยาว่ามีพอดีหรือไม่
7.นําไปครอบบริเวณหน้าถ้าต่อกระเปาะพ่นยากับหน้ากากหรือให้เด็กอมทางปากถ้าต่อกระเปาพ่นยายา กับท่อสูตยาทางปาก หายใจปกติในขณะพ่นยาในกรณีใช้ท่อสูตยาทางปากจะต้องหายใจเข้า -ออกทาง ปากซึ่งสังเกตได้จากขณะพ่นยาละอองยาจะพุ่งเข้าปากในช่วงหายใจเข้าและพุ่งออกจากปากในขณะหายใจออก
8.ขณะพ่นยาให้เคาะกระเปาะพ่นยาเป็นระยะๆเพื่อไม่ให้ยาติตด้านในกระเปาะ
9.พ่นยาต่อจนกระทั่งไม่เห็นละอองยาคือพ่นยาจนยาหมเกระเปาะ
10.ติดตามผลการรักษา ได้แก่ หายใจโล่งขึ้น ไม่มีเสียงวี้ดจากปอด สังเกตผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น เช่น ใจสั่น
สรุปผล
จากการทดลองใช้นวัตกรรมการพ่นยาเป็นเรื่อง ชิว ชิว สามารถช่วยให้การพ่นยาง่ายขึ้น ช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความมั่นใจในการพ่นยาและผู้ป่วยได้รับปริมาณยาที่ถูกต้อง ลดระยะเวลาในการคํานวณยาก่อนการเตรียมยาพ่น
การนํานวัตกรรมไปใช้ในการปฏิบัติงาน
1.ทดลองใช้ที่งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินโรงพยาบาลขุขันธ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลขนุน , โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลอาวอย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหนองคล้า(ดําเนินการแล้ว)
2.ขยายผลโดยการนําไปใช้กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลในสังกัด สํานักงานสาธารณสุขอําเภอขุขันธ์ จํานวน 27 แห่ง
โรคมือเท้าปาก

โรคซึมเศร้า

โรคเกลื้อน

โรคกลาก

โรคกระดูกพรุน



กรุณาเรียกดูวิดีทัศน์ด้านล่าง

โรคหอบหืด (asthma)

                                                                     https://mpics.mgronline.com/pics/Images/560000006757601.JPEG

โรคหอบหืด (Asthma) เป็นโรคพบบ่อยในประเทศไทย โดยพบโรคหอบหืดในเด็กมีมากถึง 10 -12% ของเด็กทั้งหมด ส่วนผู้ใหญ่พบน้อยกว่าคือประมาณ 6.9% ซึ่งในประเทศไทยคาดว่าน่า จะมีผู้ป่วยโรคหอบหืดไม่น้อยกว่า 3 ล้านคนโรคหอบหืดยังเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยและระบบสาธารณสุขของประเทศค่อนข้างสูง เพราะเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคหอบหืดจะมีอาการหอบเหนื่อยเป็นๆหายๆ สมรรถภาพในการทำงานของปอดลดลง ทำให้เหนื่อยง่ายกว่าคนปกติ บางครั้งจะมีอาการหอบรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินหรือต้องเข้านอนรับการรักษาในโรงพยาบาล ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยลดลง บางครั้งอาจถึงกับต้องหยุดการทำงาน ส่งผลให้สูญเสียรายได้และลดผลผลิตของประเทศ


พยาธิสรรีภาพ
เมื่อเยื่อบุของหลอดลมคอ (Trachea) และหลอดลมใหญ่ (Bronchus) ถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้จะมีความไวมากกว่าปกติโดยสารก่อภูมิแพ้จะจับกับเซลล์มาสต์ (Mast cell) ซึ่งมีอิมมูโนโกลบูลินอี (Immunoglobulin E; IgE) บนผิวเซลล์มาสต์ทำให้มีการหลั่งฮีสตามีน (Histamine) ลิวโคไตรอีน (Leukotriens) และพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งสารเหล่านี้จะเป็นสาเหตุให้หลอดลมตีบและอักเสบหรืออาจเกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนทำให้เกิดการอักเสบซึ่งจะไวต่อการกระตุ้นจากสารเคมี มีการหลั่งฮีสตามีน ลิวโคไตรอีน และพรอสตาแกลนดิน ส่งผลให้หลอดลมตีบแคบอย่างรวดเร็ว ขับมูกออกมามากขึ้น เกิดการทำลายของเยื่อบุทางเดินหายใจ หลอดลมบวม ฮีสตามีนสามารถซึมเข้าผนังหลอดลมทำให้มีการอักเสบของหลอดลมรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการต่อมามีอาการหายใจลำบาก ช่วงการหายใจออกจะยาว อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น ต่อมาจะฟังเสียงการไอของผู้ป่วยจะได้ยินเสียงหวีด ระยะต่อมาผู้ป่วยจะไอเอาเสมหะออกยาก ฟังเสียงหายใจจะมีเสียงรอนไค ส่วนเสียงหวีดและหายใจลำบากมากขึ้น ต่อมาจะตรวจพบทรวงอกมีลักษณะเป็นอกถัง (Barrel shaped chest) เคาะปอดได้ยินเสียงก้องมาก หากมีเสมหะอยู่บริเวณชายปอดจะทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซหรือการระบายอากาศของหลอดลมฝอยไม่ดี เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงปอดอีกข้างหนึ่งได้เกิดภาวะกรดในเลือดจากการหายใจ ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการของออกซิเจนในเลือดต่ำ

สาเหตุ

สาเหตุของหอบหืด เกิดจากการที่หลอดลมมีภาวะไวต่อการกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งแวดล้อม หากถูกกระตุ้นจะทำให้กล้ามเนื้อของหลอดลมหดเกร็ง มีการบวมของเยื่อบุบริเวณหลอดลม ทำให้เกิดการอักเสบ ตีบแคบ หายใจลำบาก ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการตีบแคบ เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลม การบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม หรือมีเสมหะจำนวนมากคั่งค้างอยู่ภายในหลอดลม 
สาเหตุของหอบหืดเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้
  • พันธุกรรม - มีประวัติการเป็นหอบหืดของคนในครอบครัว
  • โรคภูมิแพ้ - สารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญ เช่น ขนสัตว์เลี้ยง ไรฝุ่นบ้าน แมลงสาบ สปอร์เชื้อรา เกสรดอกไม้
  •  สารเคมี - สารเคมีที่ใช้ในบ้านอาจกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น เช่น กลิ่นสี ยาฆ่าแมลง สเปรย์แต่งผม รวมไปถึงควันบุหรี่
  •  การออกกำลังกาย - บางคนเกิดอาการเมื่อต้องออกแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึง ออกกำลังกาย โดยเฉพาะในที่ที่มีอากาศเย็น
  •  ภาวะทางอารมณ์ - มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีความเครียด ส่งผลให้หายใจผิดปกติโดยไม่รู้ตัว ทำให้หายใจแบบลึกบ้างตื้นบ้างสลับกันไปมา
  •  สารในกลุ่มซัลไฟต์ (Sulfites) และสารกันบูด สารที่เจือปนในอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ผลไม้แห้ง เบียร์ ไวน์
  • โรคกรดไหลย้อน - ภาวะที่มีกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการแสบร้อนในอก กรดไหลย้อนทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหอบหืด มีอาการบ่อยขึ้น และรุนแรงขึ้นได้
  • ไวรัสทางเดินหายใจ
  • ไซนัสอักเสบเรื้อรัง


อาการ
https://previews.123rf.com/images/irinastrel123/irinastrel1231605/irinastrel123160500038/56663176-asthma-vector-infographic-asthma-symptoms-infographic-elements-.jpg
อาการสำคัญของผู้ป่วยโรคหืดคือ อาการไอ อาการหอบ และหายใจมีเสียงหวีด อาการไอมักจะไอแห้งๆหรืออาจมีเสมหะเล็กน้อย สีขาวใส ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นๆหายๆ อาการมักเป็น มากในเวลากลางคืนหรือเวลาที่สัมผัสสิ่งกระตุ้น (สารก่อภูมิแพ้) เนื่องจากหลอดลมผู้ป่วยโรคหืดไวต่อสิ่งกระตุ้นผิดปกติ ดังนั้นเวลาสัมผัสสิ่งกระตุ้นหลอดลมจะหดตัวทำให้หลอดลมตีบ ทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีอาการไอ หอบ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด ซึ่งเราเรียกว่า การจับหืด
ถ้าหลอดลมไม่ตีบมากนัก ผู้ป่วยอาจมีแต่อาการไอเพียงอย่างเดียวและไม่รู้สึกเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก หรือมีเสียงหวีด
อาการหอบหายใจลำบากและมีเสียงหวีดนี้ บางทีก็อาจทุเลาหายไปได้เองหรือดีขึ้นเมื่อกินยาหรือพ่นยาขยายหลอดลม แต่ถ้าหลอดลมตีบมากผู้ป่วยก็จะมีอาการมากจนทำงานปกติไม่ไหว ต้องหยุดงานและต้องมารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือห้องฉุกเฉิน
บางครั้งหลอดลมตีบมาก ผู้ป่วยอาจหายใจไม่ได้เลย ส่งผลให้ขาดอากาศหายใจ ทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งเรามักจะไม่ทราบว่าโรคหืดทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เพราะส่วนมากผู้ป่วยจะไม่เสีย ชีวิตเพราะได้รับการรักษาก่อน
สิ่งกระตุ้นที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคหืดหอบได้มีหลายอย่างเช่น
  • สารก่อภูมิแพ้เช่น ขนสุนัข ขนแมว ไรฝุ่น และละอองเกสรดอกไม้
  • การสัมผัสความร้อน - เย็นเช่น การรับประทานไอศกรีมหรือเข้าห้องแอร์
  • การออกกำลังกาย การหัวเราะมากๆ
  • มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเช่น เครียด
  • มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเช่น เครียด
  • การรับประทานยาบางตัวเช่น ยากลุ่มแอสไพริน และยาต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) และยาลดความดันโลหิตกลุ่มบีตา บลอกเกอร์(Beta-blocker) เช่น ยาโปรปาโนโลล (Propanolol) เป็นต้น


การวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคหืดได้โดยอาศัยการซักประวัติที่มีอาการที่เข้าได้กับโรคหืด เช่น มีอาการไอ หอบ หายใจมีเสียงหวีดเป็นๆหายๆหรือมีอาการไอเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไอมากในเวลากลางคืน หรือคนที่ไอเรื้อรังหลังจากเป็นไข้หวัด
แพทย์จะอาศัยการตรวจร่างกาย ตรวจฟังการหายใจจากหูฟัง เพื่อดูว่ามีหลอดลมตีบหรือไม่ ถ้ามีหลอดลมตีบแพทย์จะตรวจได้เสียงดังหวีดที่ทรวงอกทั้งสองข้าง แต่ส่วนมากอาจตรวจไม่พบความผิดปกติ เพราะจะได้ยินเสียงหวีดก็ต่อเมื่อหลอดลมตีบมากเท่านั้น
การจะยืนยันได้แน่นอนว่าเป็นโรคหืดจริง ต้องอาศัยการตรวจสมรรถภาพปอดซึ่งอาจทำได้โดย
- การตรวจสมรรถภาพปอดโดยการใช้เครื่องตรวจสมรรถภาพปอด (Spirometry) การตรวจสมรรถภาพปอดเป็นการตรวจที่ทำได้ไม่ยากและไม่เจ็บตัว โดยการให้ผู้ป่วยเป่าลมแรงๆเข้าไปในเครื่องตรวจสมรรถภาพปอด เครื่องจะวัดปริมาตรและความเร็วลมที่เป่าออกมา ถ้าหลอดลมตีบ ความเร็วลมที่เป่าออกมาจะลดลง ซึ่งถ้าพบว่ามีการอุดกั้นทางเดินหายใจ (หลอดลมตีบ) แล้วให้ผู้ป่วยพ่นยาขยายหลอดลม หลังจากนั้นตรวจความเร็วลมที่เป่าออกมาซ้ำ ค่าการตรวจความเร็วลมดีขึ้นมากกว่าเดิม 12% ก็สามารถ ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคหืดได้ ซึ่งการตรวจสมรรถภาพปอดยังสามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีหลอดลมตีบมากน้อยเพียงใด
คนไข้โรคหืดควรได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดทุกคน เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคหืดจริงหรือไม่ ถ้าเป็นโรค เป็นรุนแรงระดับไหน นอกจากนี้การตรวจสมรรถภาพปอดยังใช้ในการติดตามดูผลของการรักษาว่าดีขึ้นมากน้อยเพียงไหน หลังการรักษาแล้วสมรรถภาพปอดจะกลับมาเป็นปกติหรือยัง
- นอกจากนี้ มีวิธีตรวจสมรรถภาพปอดแบบง่ายๆที่ผู้ป่วยสามารถทำเองได้ที่บ้านหรือที่โรงพยาบาลขนาดเล็ก โดยการใช้เครื่องวัดความเร็วสูงสุดของลมหรือพีคโฟลว์มิเตอร์(Peak Flow Meter) ซึ่งมีราคาไม่แพงมากประมาณ 800 บาท ซึ่งจะช่วยผู้ป่วยในการประเมินความรุนแรงของโรคหืดได้
วิธีการใช้พีคโฟลว์มิเตอร์ก็ไม่ยาก เพียงแต่ผู้ป่วยสูดลมให้เต็มปอดแล้วเป่าออก ให้แรงที่สุด ค่าที่วัดได้จะเป็นค่าความเร็วสูงสุดของลมที่เป่าออกได้ (peak expiratory flow rate หรือ PEFR/พีอีเอฟอาร์) หน่วยเป็นลิตร/นาที ถ้าหลอดลมตีบค่าที่เป่าได้จะต่ำ ถ้าหลอดลมไม่ตีบค่าที่เป่าได้จะได้สูง และเมื่อพ่นยาขยายหลอดลมแล้วค่าพีอีเอฟอาร์ดีขึ้นมากกว่า 20% ก็วินิจฉัยว่าเป็นโรคหืดได้
- การวัดความผันผวนของค่าพีอีเอฟอาร์ (Peak flow variability) โดยใช้เครื่องวัดความเร็วของลมสูงสุดพีคโฟลว์มิเตอร์ดังกล่าว วิธีการตรวจคือ ให้ผู้ป่วยวัดค่าพีอีเอฟอาร์ เช้าและเย็นเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจดบันทึกมามอบให้แพทย์ แล้วแพทย์นำมาคำนวณหาค่าความผันผวน ซึ่งมีวิธีคำนวณได้หลายแบบขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
ในคนปกติหลอดลมไม่ค่อยจะหดขยายมากนัก ดังนั้นความผันผวนจะน้อยกว่า 20% แต่หลอดลมผู้ป่วยโรคหืดจะหดขยายอยู่เรื่อยๆทำให้ค่าความผันผวนของพีอีเอฟอาร์มากกว่า 20% ดังนั้นถ้าวัดความผันผวนของค่าพีอีเอฟอาร์ได้มากกว่า 20% ก็ถือว่าเป็นโรคหืดได้
- การวัดความไวของหลอดลมต่อสิ่งกระตุ้น (Bronchial provocation test) บางครั้งผู้ ป่วยไม่มีอาการหอบ การตรวจสมรรถภาพปอดอาจจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทำให้วินิจฉัย โรคหืดไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้แพทย์จะวินิจฉัยโรคหืดได้โดยการวัดความไวของหลอด ลมต่อสิ่งกระตุ้นเพราะผู้ป่วยโรคหืดจะมีหลอดลมที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าคนปกติ
วิธีการวัดความไวของหลอดลมทำได้ไม่ยาก โดยให้ผู้ป่วยเป่าลมในการตรวจสมรรถภาพปอด แล้วให้สูดดมสารกระตุ้นเช่น สารเมธาโคลีน (Methacholine) หลัง จากนั้น วัดค่าการเป่าลมซ้ำแล้วค่อยๆเพิ่มความเข้มข้นของสารกระตุ้นไปเรื่อยๆ จนกระ ทั่งค่าเป่าลมลดลง 20% ซึ่งแพทย์จะแปลผลและวินิจฉัยโรคหืดได้จากการนำค่าสมรรถ ภาพปอดที่ลดลงและขนาดของสารกระตุ้นมาเขียนเป็นรูปกราฟ
- นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจอื่นๆเพิ่มเติมเช่น การตรวจเอ็กเรย์ปอดเพื่อดูว่าไม่มีโรคอื่น ที่ให้อาการคล้ายๆโรคหืด ซึ่งการตรวจเอ็กเรย์ปอดของผู้ป่วยโรคหืดจะไม่พบความผิดปกติ

การรักษา
แต่ก่อนเราจะเข้าใจว่าโรคหืดเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ เนื่องจากเราไม่เข้าใจสาเหตุที่หลอด ลมคนไข้โรคหืดไวต่อสิ่งกระตุ้นเลยไม่รู้วิธีรักษา และคิดว่าโรคหืดรักษาไม่ได้ จึงรักษาแต่อา การที่เกิดจากหลอดลมหดโดยการให้ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาขยายหลอดลม ปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับโรคหืดพัฒนาไปมาก ทำให้เรามีวิธีการรักษาโรคหืดที่ได้ผล จนทำให้คนไข้โรคหืดมีชีวิตเหมือนคนปกติธรรมดาได้โดยไม่ยาก
หลักการรักษาโรคหืดในปัจจุบัน เราทราบว่าสาเหตุของโรคหืดคือมีหลอดลมอักเสบซึ่งการอักเสบชนิดไม่ได้เกิดจากติดเชื้อทำให้หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้น ดังนั้นเวลาสัมผัสสิ่งกระ ตุ้นหลอดลมจะตีบ ทำให้เกิดการหอบ หายใจมีเสียงหวีด เรียกว่าจับหืด เมื่อเรารักษาหลอดลมอักเสบให้ดีขึ้น หลอดลมก็จะไม่ไวต่อสิ่งกระตุ้น พอสัมผัสสิ่งกระตุ้นก็จะไม่หอบ คนไข้โรคหืดก็จะกลับมาเป็นคนปกติได้
ในอดีตเรามักใช้แต่ยาขยายหลอดลมเวลามีอาการจับหืด ทำให้อาการดีขึ้นชั่วคราว ซึ่งเป็นการรักษาอาการเท่านั้นไม่ได้รักษาการอักเสบของหลอดลม ดังนั้นโรคหืดจึงไม่ดีขึ้นและอา การมักจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆตามระยะเวลาที่เป็นหืด แต่ในปัจจุบันเราทราบว่าการอักเสบเป็นสา เหตุของหลอดลมไว ดังนั้นแพทย์จะให้ยาลดการอักเสบของหลอดลมซึ่งได้แก่ ยาพ่นเสตียรอยด์ เมื่อหลอดลมอักเสบลดลงหรือหายไป หลอดลมก็จะไม่ไวต่อสิ่งกระตุ้นและเวลาเจอสิ่งกระตุ้นก็จะไม่หอบ ดังนั้นยาพ่นเสตียรอยด์จึงเป็นยาหลักในการรักษาโรคหืด และเมื่อเราใช้ยาลดการอักเสบเป็นเวลานาน โรคหืดสามารถรักษาให้สงบลงได้และสามารถหยุดยาได้
ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาโรคหืดที่ทำให้การรักษาโรคหืดทั่วโลกเป็นไปในแนวทางเดียวกันเรียกว่า GINA Guideline 4 ในประเทศไทยก็มีแนวทางการรักษาตามแบบของ GINA Guideline ที่เรียกว่า แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข: การดูแลผู้ป่วยโรคหืด พ.ศ. 25515
เป้าหมายการรักษาในปัจจุบันคือ ทำให้ผู้ป่วยโรคหืดมีชีวิตเช่นคนปกตินั่นคือสามารถควบ คุมโรคให้สงบได้ ป้องกันการกำเริบของโรค ยกสมรรถภาพปอดให้เป็นปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตเช่นคนปกติ หลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาและลดการเสียชีวิตจากโรคหืด
แนวทางการรักษาคือ
1. ผู้ป่วยและญาติต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหืดและยารักษาโรค เพื่อให้เกิดความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษา สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยต้องเข้าใจก็คือ โรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดลมทำให้หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้น เมื่อเจอสิ่งกระตุ้นหลอดลมจึงตีบ ดังนั้นการรักษาโรคหืดไม่ใช่การรักษาหลอดลมตีบ แต่เป็นการรักษาหลอดลมอักเสบซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษานาน ถึงแม้ว่าอาการอาจจะไม่มีแล้วก็ตาม ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากจะไม่เข้าใจ และผู้ป่วยต้องเข้าใจว่ายารัก ษาโรคหืดจะแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่

o ยารักษาโรคหืดคือ ยาพ่นสเตียรอยด์ซึ่งลดการอักเสบ

o และยาขยายหลอดลมซึ่งใช้เพื่อบรรเทาอาการหอบ
2. ผู้ป่วยจะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หอบ สิ่งสำคัญคือสารก่อภูมิแพ้เช่น ฝุ่นบ้าน ไรฝุ่น และขนสัตว์
3. ผู้ป่วยจะต้องรู้จักการประเมินโรค การประเมินโรคอาศัยอาการหอบอย่างเดียวไม่พอ จะต้องมีการประเมินสมรรถภาพปอดด้วย เพราะว่าหลอดลมที่ตีบไม่มากผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะมีอาการต่อเมื่อหลอดลมตีบมาก ดังนั้นถ้ารอดูแต่อาการเราจะประเมินโรคต่ำกว่าที่ควร ให้การ รักษาต่ำกว่าที่ควร ผู้ป่วยอาจจะหาซื้อเครื่องวัดความเร็วสูงสุดของลมที่เป่าออกที่เรียกว่า พีคโฟลว์ มิเตอร์ (Peak Flow Meter) ราคาประมาณ 800 บาทดังกล่าวแล้วก็จะสามารถประเมินโรคได้ดีขึ้น
4. การใช้ยารักษา ยารักษาโรคหืดแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
1. ยาควบคุมโรค (Controllers)) เป็นยาที่ใช้เพื่อควบคุมโรคจะต้องใช้สม่ำเสมอแม้ ว่าจะไม่มีอาการซึ่งประกอบด้วย ยาพ่นสเตียรอยด์ (inhaled corticosteroids) เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคหืดเพราะมีฤทธิ์ลดการอักเสบของหลอดลมได้ เมื่อหลอดลมอักเสบดีขึ้น หลอดลมจะไม่ไวต่อสิ่งกระตุ้นอาการหอบก็จะหายไปในที่สุด ยาพ่นสเตีย รอยด์ถือว่าเป็นยารักษาโรคหืดได้ ยาพ่นสเตียรอยด์เป็นยาที่ปลอดภัยเพราะขนาดยาที่ใช้จะต่ำมากไม่เหมือนกับการกินยาสเตียรอยด์ซึ่งจะมีโทษมาก โทษของยาพ่นสเตีย รอยด์ที่อาจจะพบได้เช่น เสียงแหบและมีฝ้าขาวในปากจากเชื้อรา ซึ่งป้องกันได้โดยบ้วนปากทุกครั้งหลังพ่นยาด้วยน้ำประปาสะอาดหรือน้ำเกลือโรงพยาบาล (normal saline) ซึ่งมีขายตามร้านขายยาทั่วไป หรือยาบ้วนปากตามแพทย์/พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยแนะนำ
2. ยาขยายหลอดลมหรือยาบรรเทาอาการ (relievers) ที่สำคัญคือยาพ่นขยายหลอดลมเบต้าอะโกนิส (ß2 agonist) เช่น เวนโทลิน (Ventolin) บริคคานิล (Bricanyl) หรือเม็บติน (Meptin) ซึ่งใช้บรรเทาอาการเวลาหอบ โดยจะใช้เฉพาะเวลาที่มีอาการหอบเท่านั้น อาการข้างเคียงของยากลุ่มนี้คืออาจจะมีใจสั่นมือสั่นบ้าง
อนึ่ง ยาที่ใช้รักษาโรคหืดมีทั้งยากิน ยาฉีด ยาพ่น ซึ่งยาพ่นเป็นยาที่ดี เพราะเป็นยาที่ใช้เฉพาะที่ จึงได้ผลดีและปริมาณยาที่ใช้จะมีขนาดต่ำมาก จึงมีอาการข้างเคียงน้อยกว่ายากิน ดังนั้นในปัจจุบันการรักษาโรคหืดจึงนิยมใช้ยาชนิดสูดพ่นเป็นหลัก

การป้องกัน  

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันโรคหอบหืด แต่ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการของตนเอง ควบคุมไม่ให้กำเริบ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โดยการดูแลตนเองและให้ความร่วมมือกับแพทย์อย่างเคร่งครัด
การป้องกันและควบคุมอาการของโรคหอบหืด มีดังนี้
- ตรวจสอบการหายใจ ผู้ป่วยควรสังเกตอาการ หรือสัญญาณเบื้องต้นก่อนที่อาการหอบจะกำเริบ เช่น การไอ หายใจมีเสียง หายใจสั้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสังเกตอาการได้ดียิ่งขึ้น
- รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดบวม เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้ที่เป็นตัวกระตุ้นอาการของโรคหอบหืด
- หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นโรค หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ที่ได้กล่าวในข้างต้น เพื่อไม่ให้เกิดอาการ หรืออาการกำเริบ
- พบแพทย์และรับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และเพื่อให้สามารถควบคุมอาการของโรคให้เป็นปกติ ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเพื่อบรรเทาอาการของโรคให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติยาวนานที่สุด
- ผู้ป่วยควรได้รับความรู้เบื้องต้น เช่น การใช้ยาให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ การใช้อุปกรณ์พ่นยา การดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี

- รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างพอเหมาะ รับประทานอาหารที่ช่วยลดการอักเสบและการอุดตันบริเวณทางเดินหายใจ ได้แก่ ผักผลไม้สด เมล็ดธัญพืช เนื้อปลา ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ

อ้างอิง

https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:vOagShjrCn4J:https://www.honestdocs.co/asthma+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th

http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B7%E0%B8%94/

https://www.pobpad.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B7%E0%B8%94

https://anatomyaswellasphysiology.weebly.com/asthma.html